อาหาร 4 ภาค อาหารไทยมีมากมายหลากหลาย

อาหาร 4 ภาค

หัวข้อแนะนำ

อาหาร 4 ภาค  อาหารไทยมีมากมายหลากหลายเมนู ทั้งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปและอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนามของเมนูนั้นๆ มาก่อนเลยก็ได้ ยิ่งหากเป็นอาหารไทยทั้ง 4 ภาคแล้วเหนือ กลาง อีสาน และใต้ ความอร่อยของแต่ละท้องถิ่นย่อมแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมและประเพณีแต่เก่าก่อน แล้วอาหารในแต่ละภาคจะมีอะไรเด็ดๆ บ้าง คุณจะเคยชิมกันแล้วหรือยัง ไปชิมพร้อมกันเลยค่ะ

ภาคเหนือ

อาหาร 4 ภาค  คนท้องถิ่นของที่นี่มีความอ่อนโยน นุ่มนวล ใช้ชีวิตเรียบง่ายสไตล์ของคนเมืองล้านนา ในภาคนี้มีธรรมชาติป่าไม้ที่สวยงาม และยังเป็นที่อยู่ของคนไทยภูเขาหลายเผ่าพันธุ์ จึงมีความหลากหลายในแง่ของขนบธรรมเนียมประเพณีอาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น

นั่นคือการที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำพืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้านชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอนอาหารพื้นบ้านภาคเหนือมีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชนเช่น ไทใหญ่ จีนฮ่อ ไทลื้อ และคนพื้น มีสำรับอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ

ภาคกลาง

เป็นพื้นที่ราบลุ่มที่มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย ถือได้ว่าเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องข้าวปลาอาหาร ซึ่งในสมัยก่อนนั้นที่นี่ถือเป็นศูนย์กลางทางการค้า มีการพบปะค้าขายสินค้ากับชาวต่างชาติ นอกจากนี้ยังเป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลต่างๆ อาหารของภาคนี้จึงมีความหลากหลายในเรื่องของรสชาติ มีการประยุกต์ปรุงแต่งตามแต่อิทธิพลที่ได้รับมา และรับประทานข้าวสวยเป็นหลัก บนโต๊ะอาหารนั้นจะมีการประดิษฐ์ตกแต่งผัก เครื่องจิ้มที่มีการแกะสลักประดับอย่างสวยงาม

นับได้ว่าเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่นๆ ถือได้ว่าภาคกลางเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากสภาพทางภูมิประเทศที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลอง หนอง บึงมากมาย จึงทำให้ภาคกลางเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของประเทศไมว่าจะเป็นด้าน เกษตรกรรม หรือปศุสัตว์ นอกนั้นจากในบางพื้นที่ของภาคกลางยังมีบางส่วนที่ติดกับทะเลจึงทำให้ภาคกลาง มีสัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารที่หลากหลายอาหารพื้นบ้านภาคกลางที่มีชื่อเสียงได้รับความนิยมไปทั่วโลกคือ ผัดไทย ต้มยำกุ้งที่ประกอบไปด้วยพืชสมุนไพรหลายชนิด และประกอบขึ้นจากพืชผักที่หาได้ในท้องถิ่นทั่วไปล้วนแต่มีสรรพคุณเป็นยา มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น

ภาคอีสาน

หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ทราบกันดีว่าภาคนี้มีพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ผู้คนท้องถิ่นจึงรับประทานอาหารกันอย่างง่ายๆ ไม่วุ่นวายเรื่องการเตรียมอาหารให้มากนัก ซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน คนที่นี่รับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก ปลาร้าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ มักจะทานคู่กับผักสด หรือนำไปใส่ในเมนูอาหารประเภทอื่นๆอาหารพื้นบ้านอีสานส่วนมากจะมีรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียว กับอาหารพื้นบ้านที่มีรสจัดและน้ำน้อยสืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก

วิธีปรุงอาหารพื้นบ้านอีสานมีหลายวิธี คือ ลาบ ก้อย จํ้า จุ๊ หมก อู่ เอ๊าะ อ่อม แกง ต้ม ซุป เผา กี่ ปิง ย่าง รม ดอง คั่ว ลวก นึ่ง ตำ แจ่ว ป่น เมี่ยง ดังนั้นตำรับ อาหารพื้นบ้านของภาคอีสาน จึงมีควาหลากหลายและมีรูปแบบที่น่ารับประทานมาก ในบรรดาตำรับอาหารภาคอีสานนั้น สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ น้ำปลาร้า จัดว่าเป็นเครื่องปรุงที่ช่วยเพิ่มรสชาติ ให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้น ‘น้ำปลาร้าจึงมีบทบาทต่อการประกอบอาหาร เกือบทุกตำรับของอาหารอีสานก็ว่าได้ ซึ่งทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์และเป็นอาหารเด่นที่ทุกคนต้องรู้จัก ซึ่งมีตำนาน ผักพื้นบ้านและตำรับอาหารบางชนิด

ภาคใต้

มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเสียส่วนใหญ่ อากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ คนในภาคนี้นิยมทำการประมง อาหารหลักจึงเป็นพวกอาหารทะเล และนิยมใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหารเพื่อดับกลิ่นคาว จึงมีความโดดเด่นที่รสชาติเผ็ดจัดจ้าน แซ่บถึงใจความหลากหลายในสำรับอาหารปักษ์ใต้ได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่มากมาย ล้วนผ่านวิธีการดัดแปลง ปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน

ทำให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นอย่างชัดเจนคือ รสชาติจัดและเน้นเครื่องเทศและมีผักสารพัดชนิดที่เรียกว่า “ผักเหนาะ” ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านหาได้ในท้องถิ่น เช่น สะตอ ลูกเหนียงยอดกระถิน มากินร่วมด้วย เพื่อบรรเทารสเผ็ดของอาหาร ทั้งมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วยเนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลากระบอก ปลาทู ปูทะเล กุ้งหอย ซึ่งหาได้ในท้องถิ่นอาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา นิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาวเครื่องจิ้มคือน้ำบูดูอาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง  อาหาร 4 ภาค